วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

รูปการ์ตูนต่างๆ

กระทงขนมปัง




 กระทงขนมปัง 

วิธีทำ
1. ร่อนแป้ง เติมยีสต์ เคล้าให้เข้ากัน
2. ผนมน้ำตาลทราย เกลือป่น น้ำเย็น คนเข้ากันพอละลาย
3. เทลงในอ่างแป้ง นวดพอเข้ากัน เติมเนยขาว นวดต่อจนแป้งเนียน พักแป้งไว้ 15-20 นาที
4. ตัดแป้งก้อนละ 100 กรัม คลึงให้กลม
5. รีดแป้งเป็นแผ่นกลม เท่ากับจานสังกะสี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-9 นิ้ว ที่ทาเนยขาว กรุงแป้งลงในจาน ตกแต่งขอบข้างด้วยพิมพ์ กดให้ขอบเกิดลวยลายสวยงาม
6. รีดแป้งอีกก้อน ให้บางประมาณ 1/4 นิ้ว ให้พิมพ์รูปใบไม้ รูปหัวใจ ตัดแบ่งออกมา ตกแต่งด้านในของพิมพ์
7. ตัดแป้งเป้นเส้นยาว 6-7 นิ้ว กว้าง 1-2 นิ้ว ม้วนเป็นรูปกุหลาบวางตรงกลางสำหรับปีกธูปเทียน พักแป้งไว้ให้ขึ้นอีก 20-30 นาที
8. ทาผิวด้วยไข่ไก่ นำเข้าอบที่อุณภูมิ 400 องศาฟาเรนไฮด์ ประมาณ 20-30 นาที หรือจนสุกเหลือง
9. นำกระทงมาตกแต่งด้วยดอกไม้สด และปักธูปเทียน ใช้ในประเพณีลอยกระทง

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิธีการทำเค้กผลไม้รวม


 

 

 

 

วิธีการทำเค้กผลไม้รวม


ขั้นตอนการทำ:
  1. ร่อนของแห้งทั้งหมดลงผสมให้เข้ากัน แป้งเค้ก+น้ำตาลทรายแดง+เกลือ+ผงฟู
  2. หั่นผลไม้อบแห้งชิ้นพอประมาณไม่ใหญ่เกิดไป
  3. หมักผลไม้อบแห้งด้วยเหล้ารำ
  4. ตีเนยด้วยความเร็วสูง จนกว่าเนยเริ่มจะขึ้นฟู ใส่ไข่ไก่ที่ละ 1 ฟอง ใส่น้ำผึ้งที่เตรียมไว้
  5. ลดความเร็วในการตี ใส่แป้งและนมสดลงไปที่ละนิด
  6. นำผลไม้รวมที่หมักไว้มาใส่ลงในแป้งที่ผสม(เหลือไว้บางส่วนไว้แต่งหน้า) คลุกให้เข้ากัน จากนั้นใส่เมล็ดมะม่วงหิมมะพานลงไป
  7. เตรียมพิมพ์โดยรองกระดาษไขเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อเค้กติดกับพิมพ์
  8. โรยผลไม้อบที่เหลือไว้ด้านบน
  9. นำเข้าเตาอบอุณหภูมิ 180 องศา เป็นเวลา 40 นาที
  10. นำออกจากเตา โดยให้แกะกระดาษไขออกทันที พักทิ้งไว้ให้เย็น
  11. ตกแต่งหน้าเค้กด้วยแยมส้ม

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเพณีวัฒนธรรมไทยประเพณีสู่ขวัญข้าว

รายงานเรื่อง

ประเพณีวัฒนธรรมไทยประเพณีสู่ขวัญข้าว
                                กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
จัดทำโดย
ด.ญ. ศรีสง่า  คงอยู่นาน
โรงเรียนชุมชนบ้านโภชน์  อ.หนองไผ่ สพป.เพชรบูรณ์  เขต  3
เสนอ  คุณครู  กัญจนา  มีศิริ

คำนำ
รายงานเรื่อง ประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น ประเพณีสู่ขวัญข้าว เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  มีทักษะในการค้นคว้าข้อมูลและการติดต่อสื่อสารผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมจริยธรรมโดยจัดเป็นรูปเล่มรายงานและเผยแพร่ความรู้ทางเว็บไซต์ตนเองชื่อhttp://www.mots.go.th/ewt_news.php?nid=474 ขอขอบคุณค่ะ ครูกัญจนา มีศิริ ครูผู้ให้ความรู้ในการเรียนรู้

                                                                                              เด็กหญิง ศรีสง่า   คงอยู่นาน


สารบัญ
เรื่อง                                                                                                              หน้า
ประเพณีวัฒนธรรมในวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีลอยกระทง                   1-4
สรุป                                                                                                             5
แหล่งข้อมูล                                                                                                   6

ประเพณีสู่ขวัญข้าว



  ความสำคัญ
ประเพณีสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีที่ชาวนาปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉางข้าว  และเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่คอยป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ที่จะมาทำลายข้าว  เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อ ๆ ไป  เป็นวัฒนธรรมที่พบมากในภาคกลางของประเทศไท โดยฉะเพราะที่จังหวัดนครนายก





ซึ่งประเพณีนี้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น  ประเพณีสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว (หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน)  ประเพณีสู่ขวัญข้าวจะกระทำในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี



      พิธีกรรม
โดยทั่วไปชาวนาต่างก็ทำพิธีโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิงนุ่งขาวห่มขาว เป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้ม เผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น)  นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว  นำขอฉายคอนกระบุง (บางหมู่บ้านใช้ผ้าสีผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนาของตน  ร้องเรียกแม่โพสพ  ในใจความของการร้องเรียก คือ เชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้งฉางข้าว



บางหมู่บ้านจะมีเพื่อนบ้านคอยขานรับจนถึงบ้าน  หลังจากนั้นจะนำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว  บางหมู่บ้านก็มีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญข้าวเข้ายุ้งฉาง  โดยที่มีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้งฉาง  ซึ่งการสู่ขวัญข้าวนั้น จะมีสำนวนหรือภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่  ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่  แต่จะมีน้อยลง  โดยการสู่ขวัญข้าวบางพื้นที่ก็จะมีการทำร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย

สรุป
ประเพณีสู่ขวัญข้าวจะกระทำในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

แหล่งข้อมุล
http://www.mots.go.th/ewt_news.php?nid=474